ลำดับขั้นตอนการเปิดใช้งานระบบแก๊สหุงต้มแบบ 2 หัววาล์ว the step of starting to use Vaporizer
1.) ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
1.1 ตรวจสอบระดับน้ำภายในตัวหม้อต้มน้ำก๊าซ โดยดูจากแท่งแก้ววัดระดับน้ำที่ด้านหน้าตัวหม้อต้มก๊าซ ระดับน้ำต้องอยู่ระหว่างช่วงที่กำหนด (Lower Limit & Upper Limit)
1.) ตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
1.2 ตรวจสอบความพร้อมของ Main Power Supply ที่จ่ายเข้ามาที่ตู้ Vaporizer Control Panel ว่าถูกต้องหรือไม่ คือจะต้องเป็นไฟ AC 380V, 3P พร้อมสายนิวตรอน, สายกราวน์ รวมไปถึงให้ตรวจดูความเรียบร้อยเกี่ยวกับจุดต่อของสายไฟภายในตู้ว่าต่อแน่นดีแล้วหรือยัง เพราะถ้าไม่แน่นอาจทำให้เกิดการสปาร์คและเกิดความร้อนทำให้เกิดการลุกไหม้ได้
2.) เปิดระบบไฟฟ้าเพื่อให้ Vaporizer Control Panel ทำงาน
2.1 เปิดเมนเบรกเกอร์เพื่อจ่ายไฟไปเข้าตู้ Vaporizer Control Panel ขณะนี้ให้สังเกตหลอดไฟโชว์หน้าตู้
หลอดไฟ จะสว่างขึ้นซึ่งบอกให้ทราบว่ามีไฟ
3 Phase จ่ายมารอที่เบรกเกอร์ภายในตู้
2.) เปิดระบบไฟฟ้าเพื่อให้ Vaporizer Control Panel ทำงาน
2.2 เปิดเบรกเกอร์ภายในตู้ เพื่อให้ไฟจ่ายไปเลี้ยงวงจรภายในตู้
2.) เปิดระบบไฟฟ้าเพื่อให้ Vaporizer Control Panel ทำงาน
2.3 เปิดเลือกสวิทซ์ OFF-ON ให้อยู่ที่ตำแหน่ง On ในขณะนี้ไฟโขว์ Heater On จะสว่างขึ้น เพื่อบอกให้ทราบว่ามีกระแสไฟจ่ายไปเลี้ยงที่ Heater ภายในตัวหม้อต้มแก๊ส
ข้อสังเกต หลังจากนี้ให้สังเกตอุณหภูมิน้ำที่หน้าปัทม์ของมาตรวัดอุณหภูมิที่ด้านหน้าของหม้อระเหยแก๊ส อุณหภูมิจะค่อยๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2.) เปิดระบบไฟฟ้าเพื่อให้ Vaporizer Control Panel ทำงาน
2.4 รอให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นจนถึงค่าประมาณ 60oC ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15 - 30 นาที
3.) เปิดวาล์วน้ำแก๊สที่หัวถังแก๊สทุกใบทั้ง 2 ด้าน โดยค่อยๆหมุนไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาประมาณ 3 - 5 รอบ
ข้อควรระวัง การเปิดวาล์วน้ำแก๊สด้วยความรวดเร็วอาจส่งผลให้ Excess Flow Valve ภายในถังทำงานทันที ซึ่งจะควบคุมการไหลของน้ำแก๊สให้ไหลออกช้าๆ ทำให้ปริมาณน้ำแก๊สในถังลดลงไม่ใกล้เคียงกับถังใบอื่นๆ
4.) เปิด Check Valve ทุกตัว ทั้ง 2 ด้าน
5.) เปิดวาล์วที่ติดตั้งก่อนเข้าเกจวัดความดัน (Pressure Gauge) และวาล์วที่ติดตั้งก่อนเข้าวาล์วนิรภัยลดความดัน (Safety Relief Valve) ทุกตัวเพื่อให้อยู่ในสภาวะพร้อมใช้งาน
ข้อสังเกต ในขณะนี้น้ำแก๊สจะไหลออกมาผ่านสายแก๊สแล้วไหลเข้ามาสู่ระบบท่อน้ำแก๊ส (Liquid Gas Manifold) ความดันที่อ่านได้จากมาตรวัดความดันจะอยู่ประมาณ 60-120 ปอนด์/ตารางนิ้ว
6.) เปิดวาล์วก่อนเข้าอุปกรณ์ Automatic Change Over ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
8.) เปิดวาล์วทางด้านขาออกของตัว Automatic Change Over น้ำแก๊สจากชุดน้ำแก๊ส (Manifold) จะไหลผ่าน Y-Strainer และ Automatic Change Over ไหลไปที่วาล์วด้านขาเข้าตัวหม้อต้มน้ำแก๊ส
ข้อสังเกต
1. ความดันแก๊ส ณ ตำแหน่งด้านเข้าของตัว Automatic Change Over จะมีค่าใกล้เคียงหรือเท่ากับความดันที่อ่านได้ ณ ตำแหน่งก่อนเข้าตัวหม้อต้มน้ำแก๊ส (Vaporizer)
ข้อสังเกต
2. วาล์ว By-Pass ของชุด Automatic Change Over โดยปกติแล้วจะอยู่ในตำแหน่งปิดตลอดเวลา จะเปิดก็ต่อเมื่อตัว Automatic Change Over มีปัญหาใช้งานไม่ได้
9.) เมื่ออุณหภูมิน้ำในหม้อต้มน้ำแก๊สสูงขึ้นเกินกว่า 60oC แล้ว ให้เปิดวาล์วด้านเข้าของตัวหม้อต้มแก๊สอย่างช้าๆ
ในขณะนี้น้ำแก๊สจะไหลเข้ามาภายในตัวหม้อต้มแก๊ส โดยมีน้ำเป็นตัวถ่ายเทความร้อน ซึ่งน้ำจะถูกทำให้ร้อนโดย Heater จากนั้นน้ำร้อนจะเพิ่มอุณหภูมิให้กับท่อแก๊สภายในตัวหม้อต้มแก๊ส (Heat Exchanger Coil)
ภายในท่อแก๊สที่มีน้ำแก๊สวิ่งไหลผ่านออกไปอย่างต่อเนื่องในสภาพที่เป็นน้ำแก๊สจะถูกทำให้เป็นไอแก๊สในทันที ที่ไหลผ่าน Heat Exchanger Coil
ข้อสังเกต ความดันแก๊ส ณ ตำแหน่งด้านขาออกของตัวหม้อต้มแก๊สจะมีค่าใกล้เคียงหรือเท่ากับความดันด้านขาเข้าของตัวหม้อต้มแก๊ส
ข้อควรระวัง การเปิดวาล์วด้านเข้าของตัวหม้อต้มแก๊สทุกครั้ง ต้องค่อยๆเปิดอย่างช้าๆ เพราะถ้าเปิดโดยรวดเร็วจะส่งผลทำให้ลูกลอยภายในตัวหม้อต้มแก๊สเคลื่อนตัวปิดทางช่องแก๊สไหลออกอย่างทันที
11.) ให้เปิดวาล์วก่อนเข้าและหลังออกจากชุดหัวปรับความดันแก๊ส (Pressure Regulator) ความดันไอแก๊สที่ไหลผ่านตัวหัวปรับจะถูกลดความดันลงตามที่ได้ตั้งค่าความดันไว้
12.) ไอแก๊สจากชุดหัวปรับความดันจะถูกส่งต่อมาที่ชุดกรองแก๊ส (Oil Trap)
ข้อสังเกต ที่ด้านใต้ชุดกรองแก๊สจะมีวาล์วถ่ายกากแก๊ส,น้ำมัน,และสิ่งสกปรกที่ติดมากับแก๊ส ซึ่งจะตกไปรวมกันอยู่ทีกันถัง
ควรเปิดวาล์วถ่าย (Drain Valve) ตัวนี้เป็นประจำเพื่อถ่ายสิ่งสกปรกเหล่านี้ออกมา
13.) ให้เปิดตัววาล์วปิดฉุกเฉิน (Emergency Shut Off Valve)
ไอแก๊สจากชุดกรองแก๊สจะไหลผ่านวาล์วปิดฉุกเฉินเพื่อจ่ายออกไปใช้งานต่อไป ในกรณีที่ต้องการหยุดการใช้แก๊สฉุกเฉิน ให้ดึงสายสลิงที่ติดไว้ภายใน Emergency Box บริเวณด้านนอกของสถานีแก๊ส วาล์วปิดฉุกเฉินจะทำการปิดการจ่ายแก๊สโดยทันที
15.) เมื่อทำตามขั้นตอนดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ให้สังเกตไฟโชว์ที่หน้าตู้ Vaporizer Control Panel กับมาตรวัดอุณหภูมิน้ำในหม้อต้มจะทำงานสัมพันธ์กัน โดยสังเกตจากสิ่งต่อไปนี้
15.1 ระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำร้อนของหม้อต้มแก๊สจะมี Thermostat อยู่ 2 ชุด ชุดแรกจะปรับตั้งไว้ที่ประมาณ 80oC ส่วนชุดที่สองจะตั้งไว้ที่ประมาณ 90oC เพื่อให้ตัดการจ่ายไฟไปเลี้ยง Heater
การปรับตั้งอุณหภูมิจะขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้แก๊สของแต่ละโรงงานว่ามากน้อยเท่าใด ซึ่งแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน
Thanks you for supporting us.
Sim
0 comments:
Post a Comment