6:00 PM
0





เครื่องทำความเย็นแบบดูดซึม (Absorption Chiller) นับเป็นระบบทำความเย็นที่เป็นทางเลือกที่มีความคุ้มค่าด้านการใช้พลังงาน ถึงแม้ประสิทธิภาพตํ่ากว่าระบบทำความเย็นแบบอัดไอ แต่ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพการทำความเย็นของระบบทำความเย็นแบบนี้จะมีแต่ประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ระบบการทำ ความเย็นระบบดูดซึมชนิดสามชั้น (Tri Stage Absorption Chiller) มีสมรรถนะการทำความเย็น ( COP) สูงถึง 1.7 เมื่อพิจารณาถึงส่วนประกอบของระบบทำ ความเย็นแบบดูดซึม

อาจกล่าวได้ว่า ระบบทำความเย็นแบบดูดซึมมีส่วนประกอบคล้ายกับระบบอัดไอ คือ เครื่องควบแน่น (Condenser),เครื่องทำระเหย( Evaporator), วาล์วลดความดัน (Expansion Valve) และ เครื่องอัดสารทำความเย็น (Compressor) แต่ในส่วนของเครื่องอัด (Compressor) ในระบบดูดซึมจะเป็นเครื่องอัดชนิดความร้อน (Thermal Compressor) ซึ่งใช้พลังงานความร้อนในการขับเคลื่อนระบบแทน ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นเครื่องดูดซึมความร้อน (Absorber) และอุปกรณ์ให้ความร้อน (Generator) ดังแสดงในรูปที่ 1 จากที่กล่าวมา ระบบทำความเย็นแบบดูดซึม เป็นระบบที่ใช้ความร้อนมาขับเคลื่อนระบบ ซึ่งมีความหลากหลายของแหล่งพลังงานความร้อนที่จะมาขับเคลื่อนระบบ ซึ่งเป็นจุดแข็งของเครื่องทำความเย็นแบบนี้ เช่น ใช้พลังงานความร้อนทิ้งจากกระบวนการหรืออุปกรณ์ทางความร้อน หรือแม้แต่พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ( Solar Thermal) หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าระบบอัดไอมาก ที่ต้องใช้พลังงานกลในการทำให้เครื่องอัดทำงาน



การประยุกต์ระบบ CCHP หรือ Tri-Generation สำหรับงานอาคาร

การใช้พลังงานภายในอาคารหรือที่พักอาศัย ประมาณร้อยละ 60-70 ใช้เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในอาคาร รองลงมาใช้ในระบบแสงสว่าง ประมาณร้อยละ 25 นอกจากนี้ ถ้าเป็นกลุ่มธุรกิจโรงแรม หรืออพาร์ทเมนต์ จะมีระบบนํ้าร้อนเพิ่มด้วย เพื่อสำหรับการชำระร่างกายหรือการชำระล้าง หรืออาจกล่าวได้ว่า การใช้พลังงานของกลุ่มอาคารธุรกิจจะมีการใช้พลังงานความร้อน ความเย็น และไฟฟ้า ควบคู่กันไปตลอดเวลา และกลุ่มธุรกิจนี้มีแนวโน้มการใช้พลังงานสูงขึ้นทุกปี

ระบบทำความเย็นสำหรับระบบปรับอากาศในอาคาร

โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่จะเป็นเครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ที่เรียกว่า ชิลเลอร์ (Chiller)ซึ่งแบ่ง 2 ระบบใหญ่ คือ ระบบระบายความร้อนด้วยนํ้า หรือระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ระบบทำความเย็นด้วยชิลเลอร์ จะอาศัยนํ้าเป็นตัวนำพาความเย็นไปยังห้องหรือจุดต่าง ๆ โดยนํ้าเย็นจะไหลไปยังเครื่องทำลมเย็น (Air Handing Unit – AHU หรือ FanCoil Unit - FCU) ที่ติดตั้งอยูใ่ นบริเวณที่ปรับอากาศ จากนั้นนํ้าที่ไหลออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั้มเข้าไปในเครื่องทำ นํ้าเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่อง และไหลเวียนกลับไปยังเครื่องทำ ลมเย็นอยู่เช่นนี้ สำ หรับเครื่องทำ น้ำ เย็นนี้จะต้องมีการนำความร้อนจากระบบออกมาระบายทิ้งภายนอกอาคารด้วย ดังแสดงในรูปที่ 2

บริเวณหรือห้องที่จะปรับอากาศจะมีแต่เครื่องทำลมเย็นเท่านั้น โดยนำเย็นจะถูกส่งผ่านระบบท่อนํ้าเย็นจากเครื่องทำนํ้าเย็น (Chiller) โดยนํ้าเย็นจะมีอุณหภูมิประมาณ 6-8 oC ซึ่งจะไหลเข้าไปในเครื่องทำลมเย็นที่ประกอบด้วย แผงท่อนํ้าเย็นที่มีนํ้าเย็นไหลอยู่ภายในแผ่นกรองอากาศ โดยทั่วไปเครื่องทำลมเย็นจะประกอบด้วย แผงใยอะลูมิเนียม พัดลม และมอเตอร์ไฟฟ้าที่ดูดอากาศจากบริเวณที่ปรับอากาศให้ไหลผ่านแผ่นกรองและแผงท่อนํ้าเย็นหลักจากนํ้าเย็นแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศภายในบริเวณที่ปรับอากาศจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ประมาณ 10-13 oC และเคลื่อนที่กลับไปยังเครื่องทำนํ้าเย็นอีกครั้งเพื่อลดอุณหภูมิลง ระบบทำความเย็นจะทำงานแบบนี้ต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อปรับอากาศในอาคารให้อยู่ในอุณหภูมิที่กำหนด

0 comments:

Post a Comment