12:00 AM
0
โอวาทปาติโมกข์ “หัวใจพระพุทธศาสนา”
“๏ สพฺพปาปสสฺ อกรณ ํ


การไม่ทำบาปทั้งปวง

หัวข้อที่ ๑. ที่ว่าการไม่ทำบาปทั้งปวงได้แก่การไม่ประพฤติผิด ในทุจริตธรรม ๓ อย่าง คือทางกาย ทางวาจา และทางใจ
แต่ควรประพฤติสุจริตธรรมแทน มีสุจริตทางกาย คือ ไม่ทำบาปด้วยกายมี ๓ อย่าง คือ

ไม่ฆ่าสัตว์ ๑, ไม่ลักทรัพย์ ๑, ไม่ประพฤติในกาม ๑, นี่จัดเป็นสุจริตทางกาย.

วจีสุจริต คือการไม่ทำบาปด้วยวาจา ๔ คือ

การไม่พูดเท็จคือพูดโกหก ๑,การไม่พูดด่าคือคำหยาบ ๑, การไม่พูดส่อเสียดคือพูดแทงใจคนให้เจ็บช้ำน้ำใจ ๑, การไม่พูดเพ้อเจ้อคือพูดทีเล่นทีจริงไร้สาระ ๑, นี่จัดเป็นสุจริตทางวาจา.


มโนสุจริต คือการไม่ทำบาปด้วยใจมี ๓ คือ การไม่คิดพยาบาทคิดปองร้ายใคร ๑, การไม่คิดโลภอยากได้ของๆเขา ๑, การไม่ไม่คิดเห็นผิดจากธรรมนองและครองธรรม ๑, นี่จัดเป็นสุจริตทางใจ.


รวมการไม่ทำบาปทั้งหมดนี้คือ สุจริตธรรม คือไม่ควรประพฤติในทุจริตธรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับสุจริตธรรม ควรประพฤติแต่สุจริตธรรมไว้เสมอ จะทำให้จิตเป็นบุญเป็นกุศล

๏ กุสลสฺสูปสมฺปทา


การทำความดีให้ถึงพร้อม

หัวข้อที่ ๒. ที่ว่าการทำกุศลให้ถึงพร้อมก็คือ การรู้ในการดำริชอบ เพื่อไม่ให้จิตเกิดอกุศล พระพุทธองค์จึงได้ทรงให้เรา

ดำริในการออกจากกาม ๑, ดำริในการไม่มุ่งร้าย ๑, ดำริในการไม่เบียดเบียน ๑, เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้จิตเกิดอกุศล มีโลภ โกรธ หลง ครอบงำจิตอยู่

๏ สจิตฺต ปริโยทปน


การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว”


หัวข้อที่ ๓. ที่ว่าการชำระจิตของตนให้ขาวรอบ เมื่อเรามีความเพียรชอบในการเจริญสติด้วยธัมมะภาวนา จนจิตมีสติทำความสงบนิ่งได้แล้ว ก็ควรที่จะมีการตามดูรู้เห็นจิตของตนไว้เสมอ อย่าให้จิตมาร มาคอยดลจิตดลใจให้จิตนึกไปในสิ่งที่ล่วงไปแล้ว

ให้เราพิจารณาถึงความไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่กำลังนึก-คิดนั้น เพราะเป็นเหตุให้จิตเกิดทุกข์ ความยึดถือในสิ่งที่นึก-คิดนั้นจัดเป็นสมุทัย คือใจเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ควรละความยึดมั่นถือมั่น ในการนึก-คิดนั้นเสีย เมื่อเรารู้พิจารณาทำได้อย่างนี้ไว้ตลอดก็จัดเป็นผู้รู้ชำระจิตของตน จะทำให้จิตของเรามีความขาวรอบยิ่งขึ้น มีความผ่องใสมีสติปัญญา ควรต่อการบรรลุในคุณธรรมที่สูงยิ่งๆขึ้นไป จนบรรลุในพระนิพพานได้
เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงประกาศพระพุทธวาทะดังกล่าวแล้ว ก็ได้ตรัสต่อไปอีกหนึ่งคาถากึ่งว่า

“๏ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
๏ นิพพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
๏ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต“
๏ สพฺพปาปสสฺ อกรณํ
๏ กุสลสฺสูปสมฺปทา
๏ สจิตฺต ปริโยทปนํ
๏ อนูปฆาโต
๏ ปาติโมกฺเข จ สํวโร
๏ มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ
๏ ปนฺตญฺจ สยนาสํ
๏ อธิจตฺเต จ อาโยโค
๏ เอตํ พุทธาน สาสนํ”

“ขันติคือความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง
บรรพชิตคือนักบวช ผู้ยังทำร้ายผู้อื่นอยู่ ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตของตนให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
การไม่กล่าวร้าย ๑
การไม่ทำร้าย ๑
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑
ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑
ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑
การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑
ธรรมหกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.”

ที่มา : http://www.phuttha.com/

0 comments:

Post a Comment